หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตาราง CPU


ซีพียูเดสก์ท้อป
ด้านล่างนั้นท่านผู้อ่านจะเห็นตารางของซีพียู Core i7 ในแต่ละรุ่นทั้งหมดเท่าที่มีการออกวางจำหน่ายในตอนนี้ครับ ซึ่งก็อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วว่า ตัวเป็นที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1366 (โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 9) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Tripple Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1066MHz ในขณะที่ตัวที่เป็น LGA1156 (โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1333MHz นอกจากนั้นยังมีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาไว้ให้ภายในตัวซีพียู จึงส่งผลให้เมื่อทำการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ด 1 ใบจะได้ความเร็ว x16 และ x8/x8 ที่กราฟฟิกการ์ด 2 ใบครับ สำหรับการติดต่อสื่อสารกับระบบในส่วนอื่นๆ นั้นซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1366 นั้นจะใช้บัส QPI ทำงานที่ความเร็ว 2.4 GHz (4.8 GB/s) และสำหรับตัวโมเดลที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 นั้นจะใช้บัส DMI (2GB/s)
สำหรับเทคโนโลยี Turbo Boost นั้นก็คือการโอเวอร์คล็อกแกนซีพียูที่กำลังได้รับการใช้งานโดยอัตโนมัติ ตัวเลขที่เห็นในตารางด้านล่างนั้นคือความเร็วสูงสุดที่ระบบสามารถทำการโอ เวอร์คล็อกไปได้
ModelInternal ClockTurbo BoostTech.TDP (W)Max Temp (C)Voltage (V)Socket
9603.2GHz3.46GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
9503.06GHz3.32GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
9402.93GHz3.2GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
9202.66GHz2.93GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
8702.93GHz3.6GHz45nm9572.70.64 - 1.41156
860s2.53GHz3.46GHz45nm8276.70.65 - 1.41156
8602.8GHz3.4GHz45nm9572.70.65 - 1.41156
ในขณะที่ตารางด้านล่างนั้นท่านผู้อ่านจะเห็น Core i7 Extreme สำหรับเดสก์ท้อปทั้งหมดที่ออกมาในตอนนี้ โมเดลเหล่านี้จะมี QPI ที่ทำงานเร็วกว่า (3.2GHz, 6.4GB/s) และได้รับการปลดล็อกตัวคูณมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ModelInternal ClockTurbo BoostTech.TDP (W)Max Temp (C)Voltage (V)Socket
980X3.33GHz3.6GHz32nm13067.90.8 - 1.3751366
9753.33GHz3.6GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
9653.2GHz3.46GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
TDP ย่อมาจาก Thermal Design Power ซึ่งก็คือปริมาณความร้อนสูงสุดที่ซีพียูจะปล่อยออกมาในขณะทำงานนั่นเอง โดยระบบระบายความร้อนของซีพียูนั้นจะต้องสามารถระบายความร้อนได้ทั้งหมด อย่างน้อยเท่ากับตัวเลข TDP ของซีพียูนั้นๆ
ซีพียูโน้ตบุ๊ก
Core i7 ที่ใช้บนโน้ตบุ๊กนั้นจะใช้บนซ็อกเก็ต PGA988 ซึ่งมีคุณสมบัติหลักๆ เหมือนกับ Core i7 ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 (Core i7-8xx) แทบจะทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel (สัญญาณนาฬิกาสูงสุดที่สามารถรองรับได้จะชึ้นอยู่กับตัวซีพียูเป็นสำคัญ ดูคอลัมน์ memory เพิ่มเติมได้ในตารางด้านล่าง แต่โดยหลักๆ แล้วซีพียูโมเดลใดๆ ที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุด 1333 MHz นั้นจะรองรับแรมที่มี่ความเร็ว 1066MHz ด้วย แต่จะไม่รองรับแรมที่ความเร็ว 800MHz แต่ซีพียูโมเดลที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุด 1066MHz นั้นจะรองรับแรมที่ความเร็ว 800MHz ด้วย) มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 มาให้แล้วในตัวซีพียู และใช้บัส DMI ครับ
โมเดลซีพียูที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 6 นำหน้านั้นจะมีกราฟฟิกการ์ดที่รองรับ DirectX 10 มาให้ด้วยโดยจะมีความเร็วที่ 733MHz และมี Shader Processor มาให้ 12 ตัว
ModelInternal ClockTurbo BoostTech.CoresL3 CacheMemoryTDP (W)
i7-820QM1.73GHz3.06GHz45nm48MB1333MHz45
i7-720QM1.6GHz3.28GHz45nm46MB1333MHz45
i7-640UM1.2GHz2.26GHz32nm24MB800MHz18
i7-640LM2.13GHz2.93GHz32nm24MB1066MHz25
i7-620UM1.06GHz2.13GHz32nm24MB800MHz18
i7-620M2.66GHz3.33GHz32nm24MB1066MHz35
i7-620M2.66GHz3.33GHz32nm24MB1066MHz35
i7-620LM2.0GHz2.8GHz32nm24MB1066MHz25
ตารางด้านล่างนั้นคือ Core i7 Extreme Edition สำหรับโน้ตบุ๊กที่ได้รับการปลดล็อกตัวคูณมาให้เป็นที่เรียบร้อย
ModelInternal ClockTurbo BoostL3 CacheMemoryTDP (W)Max Temp.
920XM2.0GHz3.2GHz8MB1333MHz55100


ผลิตภัณฑ์ CPU รุ่นใหม่ของ Intel ซึ่งตอนนี้ได้ทำการประชาสัมพันธ์ CPU รุ่นใหม่นี้เป็นอย่างมาก นั่นก็คือ Core i3, i5 และ i7 ซึ่งหากใครหลายคนสนใจที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งชุดหรืออัพเกรดเฉพาะส่วน (ซีพียู,เมนบอร์ด,แรม) ผมไม่อยากให้คุณมองข้าม CPU รุ่นนี้นะครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ ไอ้ซีพียูแต่ละตัวที่ว่านี้ มันเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร? ซื้อมาใช้แล้วจะคุ้มหรือไม่? วันนี้ผมจะมาเล่าให้คุณฟังครับ
หลังจากที่ทาง Intel ได้ทำการเปิดตัว CPU รุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร เพิ่มมาอีก 2 รุ่นก็คือ i3, i5  (ส่วน i7 นั้นยังไม่มีตัว 32 นาโนเมตรครับ) ซึ่งทางอินเทลได้ปรับปรุงในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้นจากซีพี ยูรุ่นก่อนๆ ให้เพิ่มมากขึ้น และประหยัดไฟมากขึ้นกว่าเดิม แต่ปัญหาสำคัญก็คือ CPU รุ่นนี้จะต้องใช้ Mainboard Socket ใหม่ คือแบบ 1156 (ตัวก่อนหน้านี้ใช้ Socket 775 ) ทำให้คนที่ต้องการจะอัพเกรดคอมพิวเตอร์ของตนนั้น ต้องเผื่อในส่วนของราคาเมนบอร์ดตัวใหม่ด้วยครับ
.
.

บทสรุปความแตกต่างของซีพียูแต่ละตัวคืออะไร?

หลายคนที่กำลังจะตัดสินใจซื้อ คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่อาจจะต้องหยุดคิดพิจารณาสักนิดหนึ่งก่อนนะครับ ตามความคิดเห็นของผมนั้น หากคุณต้องการที่จะซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ในช่วงนี้ ผมอยากให้คุณมองถึง CPU รุ่นนี้ พร้อมทั้ง Mainbord,Ram ที่เข้ากับ CPU รุ่นนี้ได้
คำถามต่อมา คุณอาจจะสงสัยว่า แล้ว i3, i5 และ  i7 นี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผมจึงขอนำตารางที่สแกนมาจากโบชัวร์ของบริษัท Intel มาให้คุณได้ลองดูไปด้วยกันเลยครับ (ถ้าไม่นับถึงความเร็วของซีพียูนะครับ ใครจะทำซีพียูแพงๆ ความเร็วเท่ากับซีพียูราคาที่ต่ำกว่าล่ะครับ)
1. ระบบ Hyper-Threading สิ่ง ที่่ CPU ตระกูลนี้นำกลับเข้ามาใช้ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ระบบ Hyper-Threading (ระบบการจำลองชุดคำสั่งแบบคู่ขนาน) ซึ่ง intel เคยนำมาใช้ตอน Pentium 4 ครับโดย
i7 จะมี 4 คอร์ 8 เธรด
i5 จะมี 4 คอร์ 4 เธรด และ 2 คอร์ 4 เธรด
i3 จะมี 2 คอร์ 4 เธรด
2. Cache L3 ระบบ Cache L3 เป็นระบบที่ทำ AMD นำมาใช้ก่อนในซีพียูรุ่นก่อนแล้ว ซึ่ง intel เพิ่งจะนำเข้ามาใช้กับซีพียูตระกูลนี้ัครับ
i7 จะมี Cache L3   8 MB
i5
 จะมี Cache L3   8 MB และ 4 MB
i3 
จะมี Cache L3   4 MB

CPU Core i7

CPU Core i7
Intel ได้เปิดตัวซีพียูที่ใช้กระบวนการผลิต 32 นาโนเมตรเป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อรหัสในการพัฒนาว่า Clarkdale สำหรับเดสก์ท้อป และ Arrandale สำหรับโน้ตบุ๊ก ต่อมาเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาทาง Intel ก็ได้ออก Core i7-980X Extreme Edition ซึ่งเป็นซีพียู 6 แกนสำหรับผู้ใช้งานตามบ้านตัวแรกของโลกออกมาอีก จึงทำให้ในตอนนี้ Intel มีซีพียูในตระกูล Core สำหรับผู้บริโภคทุกระดับเป็นที่เรียบร้อยตามชื่อของซีพียู ได้แก่ Core i7 สำหรับตลาดระดับบน Core i5 สำหรับตลาดระดับกลาง และ Core i3 สำหรับตลาดระดับล่างลดหลั่นกันไป ซึ่งการตั้งชื่อเป็นตัวเลขง่ายๆ แบบนี้ทาง Intel หวังว่าจะช่วยลดความสับสนให้กับผู้ใช้งานเวลาเลือกซื้อซีพียูใหม่ได้ เพราะเลขยิ่งมาก ราคายิ่งแพง ประสิทธิภาพยิ่งสูง
แต่ปัญหามันไม่ได้จบลงเพียงเท่านั้น เนื่องจากสำหรับซีพียูตระกูล Core ที่ได้กล่าวในสามรุ่นใหญ่ๆ นั้นทาง Intel ยังได้ซอยย่อยรุ่นของซีพียูลงไปอีกเป็นจำนวนมาก เวลาเดินไปซื้อซีพียูท่านผู้อ่านอาจเกิดความสงสัยว่า เฮ้ย! เจ้า Core i7 9xx กับ 8xx มันก็ i7 เหมือนกันนี่หว่า แล้วทำไมเลขกับซ็อกเก็ตมันต่างกัน แล้วจะซื้อแบบไหนดี หรือไม่ก็ อ้าว! ทำไม Core i5 มันถึงมี 750 กับ 6xx ต่อท้ายต่างกัน? แล้วมันต่างกันยังไงอ่ะ เห็นคนขายบอกว่าตัว 750 มันมี 4 แกนแท้ แต่ตัว 6xx มันมีแค่ 2 แกนแท้กับอีก 2 แกนเทียม แล้วมันต่างกันยังไง แล้วเจ้าแกนแท้แกนเทียมนี่มันเป็นอย่างไร? ส่งผลต่อประสิทธิภาพแค่ไหน แล้วจะซื้อรุ่นไหนดี ความต่างของซีพียู Core ในแต่ละรุ่นใหญ่ว่าต่างกันอย่างไร และในแต่ละรุ่นย่อยนั้นมีอะไรที่ไม่เหมือนกันบ้าง รวมทั้งจะกล่าวถึงซีพียูที่ใช้บนโน้ตบุ๊กด้วย 
Core i7 เป็นซีพียูตัวแรกจาก Intel ที่มีการรวมส่วนควบคุมหน่วยความจำ (Memory Controller) เข้าไว้ในตัวซีพียูเลย ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทาง AMD ได้นำไปใส่ไว้ในซีพียู Athlon 64 ตั้งแต่เมื่อนานนมมาแล้ว โดยสถาปัตยกรรม Nehalem ที่ใช้ใน Core i7 นั้นได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากสถาปัตยกรรม Core ที่ใช้ใน Core 2 Duo และ Core 2 Quad แต่ได้เพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ เข้าไปไว้ด้วย Core i7 นั้นมาในรูปแบบ 3 ซ็อกเก็ตด้วยกันได้แก่ LGA1366 (Core i7-9xx ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ Tripple Channel และมีบัสแบบ QPI), LGA1156 (Core i7-8xx ซึ่งใช้สถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ Dual Channel, มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาด้วย และใช้บัส DMI) และสุดท้ายคือ PGA988 สำหรับโน้ตบุ๊ก (มีสเปคแบบเดียวกับ LGA1156)
แต่เดิมทีนั้นซีพียูจาก Intel จะใช้คัวควบคุมหน่วยความจำภายนอกที่อยู่ภายในชิพ North Bridge (รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ Memory Controller Hub หรือ MCH) ซึ่งหมายความว่าซีพียูใดก็ตามที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบนี้ ชิพเซ็ตจะเป็นตัวที่ทำหน้าที่กำหนดประเภทและปริมาณของหน่วยความจำที่ใช้ได้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น แต่ในเมื่อ Core i7 มีการรวมตัวควบคุมหน่วยความจำเข้าไปไว้ในตัวซีพียูแล้ว ตัวซีพียูเอง (ไม่ใช่ชิพเซ็ต) จะเป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดว่าท่านสามารถจะใส่หน่วยความจำแบบใดและปริมาณเท่าไร ลงไปในเครื่องได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเมนบอร์ดเองก็อาจมีส่วนด้วยเหมือนกันในการกำหนดปริมาณ สูงสุดของหน่วยความจำที่สามารถใส่ลงไปได้ ตัวควบคุมหน่วยความจำที่อยู่ใน Core i7 นั้นรองรับแรมเฉพาะแบบ DDR3 เท่านั้น (ที่แรงดันไฟสูงสุด 1.6V ฉะนั้นแล้วแรมตัวใดก็ตามที่ใช้ไฟมากกว่านี้จะไม่สามารถทำงานร่วมกับซีพียู ได้ และอาจสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับตัวซีพียูได้ถ้ายังขืนใช้) ซีพียู Core i7-9xx ซึ่งเป็นแบบซ็อกเก็ต LGA1366 นั้นจะใช้แรมแบบ Tripple Channel ที่ความเร็วบัส 800 และ 1066MHz ในขณะที่ Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 และซ็อกเก็ต 988 บนโน้ตบุ๊กนั้นจะรองรับแรมแบบ DDR3 แบบ Dual Channel ที่ความเร็วบัส 800, 1066 และ 1333MHz ครับ
โดยสถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ DDR3 ที่เป็น Tripple Channel บนซีพียู Core i7-9xx นั้นจะอนุญาตให้ซีพียูเข้าถึงแรมทั้งสามตัวที่ติดตั้งอยู่ได้พร้อมๆ กันเพื่อทำการเขียนหรือเก็บข้อมูลบนแรมชุดดังกล่าว ซึ่งความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ได้ต่อช่วงหนึ่งลูกคลื่นสัญญาณนาฬิกาที่มี หน่วยวัดเป็นบิท (bit) นั้นจะเพิ่มขึ้นจาก 128 (ในแรมแบบ Dual Channel) ไปเป็น 192 โดยในทางทฤษฎีแล้วแรมแบบ Tripple Channel จะมีแบนวิธเพิ่มขึ้นถึงกว่า 50% เมื่อเทียบกับแรมแบบ Dual Channel ที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของแรมที่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น แรม DDR3 ที่ความเร็ว 1066MHz นั้นจะมีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 17GB/s ในขณะที่ถ้าติดตั้งเป็นแบบ Tripple Channel แล้วจะมีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 25.5GB/s เป็นต้น
Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ตแบบ LGA1366 นั้นจะติดต่อสื่อสารกับระบบในส่วนที่เหลือโดยใช้บัสแบบใหม่ที่เรียกว่า QPI (Quickpath Interconnect) โดยบัสตัวนี้ทำงานที่ความเร็ว 2.4GHz (4.8GB/s) บน Core i7 ธรรมดา และ 3.2GHz (6.4GB/s) บน Core i7 Extreme สำหรับซีพียู Core i7-8xx ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 และ 988 บนโน้ตบุ๊กนั้นจะมีส่วนควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาให้ไว้ด้วย หน้าที่หลักของมันนั้นคือทำให้กราฟฟิกการ์ดสามารถติดต่อสื่อสารกับซีพียูได้ โดยตรงนั่นเอง ซึ่งในทางทฤษฏีสามารถเพิ่มปริมาณแบนวิธการรับส่งข้อมูลได้ นอกจากนั้น ตัวซีพียู Core i7-8xx ดังกล่าวจะสามารถเข้าถึงกราฟฟิกการ์ดตัวเดียวที่ความเร็ว x16 ในขณะที่ถ้าต่อการ์ดเชื่อมกันสองใบอัตราการเข้าถึงข้อมูลจะลดลงมาที่ x8/x8 และเนื่องจากการที่โมเดลซีพียูเหล่านี้มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาไว้ให้ในตัวซีพียูแล้ว ทาง Intel ได้ตัดสินใจใช้บัสที่มีการลดความเร็วลงที่เรียกว่า DMI (Digital Media Interface) ซึ่งทำงานที่ความเร็ว 2GB/s ในการเชื่อมตัวซีพียูเข้ากับชิพเซ็ต (แทนที่จะเป็น QPI ที่ใช้บนซีพียู Core i7-9xx บนซ็อกเก็ต LGA1366) อย่างไรก็ตามแบนวิธการรับส่งข้อมูลที่น้อยกว่านั้นไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่าง ใด เนื่องด้วยการที่ QPI มีแบนวิธมากกว่านั้นเป็นเพราะว่าตัวซีพียูต้องทำการสื่อสารกับตัวควบคุม PCI Express 2.0 ที่อยู่บนชิพ North Bridge นั่นเอง แต่เนื่องจากซีพียู Core i7 ที่เป็นซ็อกเก็ต 1156 และ 988 นั้นได้มีการรวมตัวควบคุม PCI Express 2.0 เอาไว้บนตัวซีพียูแล้ว จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งแบนวิธที่สูงมากแต่อย่างใดในการทำงานครับ
ความเหมือนที่สถาปัตยกรรม Core i7 มีเหมือนกับของทาง AMD นั่นคือซีพียูทุกตัวในตระกูลนี้มีส่วนที่เรียกว่า base clock นั่นเอง ซึ่งจะอยู่ที่ 133MHz ในซีพียูทุกๆ ตัว นอกจากนั้น Core i7 ทุกตัวจะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า Turbo Boost ซึ่งก็คือฟังชั่นการโอเวอร์คล็อกแกนซีพียูที่กำลังถูกใช้งานอยู่โดย อัตโนมัติ
คุณสมบัติอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับ Core i7 นั่นก็คือเทคโนโลยี Hyper Threading ซึ่งจะทำการจำลองแกนซีพียูเพิ่มขึ้นมา 2 ตัวสำหรับทุกๆ แกนการประมวลผล ยกตัวอย่างเช่น Core i7-920 มีจำนวนแกนจริงๆ ทั้งหมด 4 แกน แต่เมื่อรวมคุณสมบัติ Hyper Threading ไปด้วยแล้วระบบปฏิบัติการจะเห็นแกนซีพียูเป็นทั้งหมด 8 แกนจำลอง (เรียกอีกอย่างว่า Thread) เป็นต้น
Core i7 Extreme นั้นเป็นซีพียูที่แรงและแพงที่สุดของ Core i7 ทั้งหมดแล้ว โดยรุ่นสูงสุดในปัจจุบันนั้นคือ Core i7-980X Extreme Edition ซึ่งมี 6 แกน/12เธรด ซึ่งใช้กระบวนการผลิต 32 นาโนเมตร โดยความต่างของตัว Extreme Edition นั้นจะอยู่ที่ตัวซีพียูได้รับการปลดล็อคตัวคูณมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้นยังมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่มากกว่ารุ่นอื่นๆ รวมทั้งมีการใช้บัส QPI

Core i7 ในแต่ละรุ่น ตัวเป็นที่เป็น
-ซ็อกเก็ต LGA1366 (โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 9) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Tripple Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1066MHz
-ซ็อกเก็ต LGA1156 (โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1333MHz นอกจากนั้นยังมี  ตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาไว้ให้ภายในตัวซีพียู จึงส่งผลให้เมื่อทำการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ด 1 ใบจะได้ความเร็ว x16 และ x8/x8 ที่กราฟฟิกการ์ด 2 ใบครับ สำหรับการติดต่อสื่อสารกับระบบในส่วนอื่นๆ นั้น
-ซ็อกเก็ต LGA1366 นั้นจะใช้บัส QPI ทำงานที่ความเร็ว 2.4 GHz (4.8 GB/s) และสำหรับตัวโมเดลที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 นั้นจะใช้บัส DMI (2GB/s)

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ระบบ Network ในสำนักงาน1

ระบบเน็ตเวิร์กในสำนักงาน1
        การวางระบบเครือข่ายในสำนักงานขนาดเล็ก ที่ประกอบไปด้วย
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ 10 เครื่อง
2.เครื่องปริ้นเตอร์ 1 เครื่อง
3.เครืองถ่ายเอกสาร 1 เครื่อง
4.ระบบอินเตอร์เน็ต
5.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็น Server อีก 1 เครื่อง
6.อุปกรณ์ใช้เชื่อมต่อ ประกอบด้วย สายแลน, สวิตต์ 16 port
7.โมเด็ม Routor ไว้เชื่อมต่อ Internet

       ขั้นตอนการติดตั้ง
การสร้าง Workgroup ในเครื่องคอมพิวเตอร์
1.เลือก คลิ้กขวาที่ My computer เลือก property เลือก Computer Name เลือก Change
   ที่ workgroup จะต้องเป็น ชื่อเดียวกันทุกเครื่อง ตัวอย่างเช่น WORKGROUP ส่วน
   ชื่อคอมพิวเตอร์ ใส่อะไรก็ได้ เสร็จแล้วคอมพิวเตอร์จะให้รีสตาร์ท 1 ครั้ง
2.ใส่ค่า IP Address ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ 
    ให้คลิ้กที่ ​My network เลือก View network status and tasks เลือก  Change adapter setting 
    เลือกดับเบิ้ลคล้ิกที่ Local area connection  เลือก Properties เลือก Internet Protocol Version4
    (TCP/IPv4) แล้วคลิ้กที่ Properties
    ที่ หน้าต่างย่อย Use the following IP address ให้ตั้งค่าดังนี้
   - IP address : 192.168.1.(เครื่องที่เหลือให้เปลี่ยนเฉพาะตำแหน่งตรงนี้) เช่น 192.168.1.4 เป็นต้น
   - Subnet mask : 255.255.255.0  (ค่าไม่เปลี่ยนแปลง)
   - Default gateway : 192.168.1.1 (ค่าตรงนี้เป็นค่า IP address ของอินเตอร์เน็ต)
   ที่ช่อง Use the following DNS severs address 
   - Preference DNS server : 192.168.1.1
   เสร็จแล้วตอบ OK ออกจากหน้าต่างการตั้งค่า
3.กำหนดค่า IP address ของ Server (คอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่ใช้เก็บข้อมูลส่วนกลาง) 
   - IP address : 192.168.1.2  ส่วนค่าที่เหลือกำหนดเหมือนข้อ 2
4.กำหนดค่า IP address ของ โมเด็ม Routor (หากไม่ใช้อินเตอร์เน็ตให้ข้ามไปได้เลย) 
   - IP address : 192.168.1.1  ส่วนค่าที่เหลือกำหนดเหมือนข้อ 2
   การตั้งค่าของโมเด็ม จะมีขั้นตอนที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากหน้าต่างของตัวโมเด็มจะแตกต่างจาก
   คอมพิวเตอร์  ส่วนวิธีการตั้งค่าจะมีดังนี้ 
        - ไปที่หน้าต่าง  ของอินเตอร์เน็ต อาจจะใช้ IE หรือ Firefox ก็ได้ ให้พิมพ์ที่ช่อง เป็น 192.168.1.1
          ซึ่งเป็นค่าที่ติดตั้งอัตโนมัติจากโรงงานให้กับโมเด็ม ถ้าไม่ได้ให้ดูที่คู่มือการตั้งค่า ของตัวโมเด็ม
          แต่ถ้ากรณีทำกล่องหาย ให้สมมติว่าค่าอาจจะเป็น 192.168.1.1 หรือ 192.168.1.254 ไม่ค่าใดก็
         ค่าหนึ่ง ถ้าเข้าไปแล้ว มีช่องให้ใส่พาสเวิร์ค ก็ให้ใส่ค่า admin ส่วนพาสเวิร์คให้ข้ามไปได้เลย 
         แล้ว ตอบ Ok พอเข้าได้แล้วให้หาคำว่า setting ให้เจอ แล้วตั้งค่าให้เหมือนกับข้อ2 
         ข้อสังเกตุ ค่า IP address  และ Default gateway จะต้องเหมือนกันคือ  192.168.1.1

          


      

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิธีลง Windows7 กับ Ubuntu ในเครื่องเดียว

Grub สร้างเมนูเลือกบูต OS



วันนี้เอาเรื่องนี้มาเขียน คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มเล่นด้วย วิธีการก็อ้างอิงจาก Ubuntu เป็นหลักนะครับ ระบบอื่นๆ วิธีเข้า Terminal อาจจะไม่เหมือนกันแต่วิธีกู้ GRUB เหมือนกันเป๊ะครับ
ถ้าสงสัยว่า GRUB มันคืออะไร ก็อธิบายสั้นๆ ว่ามันเป็นเมนูที่ไว้เลือกตอนเปิดเครื่องว่าจะเปิดระบบปฏิบัติการใด ปกติก็จะติดตั้งมาให้เลยตอนที่ลง Linux ทีนี้ปัญหาคือถ้าเราติดตั้ง Windows เป็นพาร์ทิชั่นแรกแล้วเราฟอร์แมต Windows ไป ซึ่งก็น่าจะฟอร์แมตบ่อยกว่าอยู่แล้ว (แอบแขวะนิดนึง ^^) เมนู GRUB ของเราก็จะหายไปด้วย
แล้วเราจะเข้า Linux ยังไง?
ตอนที่เล่นใหม่ๆ ผมก็ไม่รู้เลยจำใจต้องติดตั้ง Linux ใหม่ ตอนหลังชักสงสัยว่ามันไม่มีวิธีอื่นหรือไงเลยลองถามอาจารย์ใหญ่ดู (Google) ถึงจะหายโง่
ขั้นตอนก็ไม่ยากก่อนอื่นก็ให้เราเอาแผ่น Live-CD (แผ่นติดตั้ง) ใส่เข้าไปแล้วบูทเข้าแผ่นมาที่ Desktop ซะก่อนจากนั้นทำตามขั้นตอนข้างล่างนี้
  1. ไปที่ Application>Accessories>Terminal
  2. พิมพ์คำสั่ง
    sudo grub
    จะเห็น “grub>” ขึ้นมา
  3. จากนั้นให้หาว่า GRUB อยู่ที่ไหนด้วยคำสั่ง
    find /boot/grub/stage1
    ส่วนใหญ่จะได้ค่า “(hd0,1)” ซึ่งมีความหมายดังนี้
    hd0 = เราติดตั้ง Linux ไว้ทีฮาร์ดดิสก์ตัวแรก
    1 = ติดตั้ง Linux ในพาร์ทิชั่นที่ 2 (พาร์ทิชั่นแรกเป็นของ Windows)
  4. พอได้ที่อยู่ของ GRUB แล้วก็ตั้งค่า GRUB ด้วยค่าที่ได้จากข้อ 3 โดยใช้คำสั่ง
    root (hd0,1)
  5. ทำการติดตั้ง GRUB ด้วยคำสั่ง
    setup (hd0,1)
    *** สำหรับคนที่ทำแล้ว GRUB ไม่ขึ้นให้ใช้คำสั่ง setup (hd0) แทน
  6. ออกจาก GRUB ด้วยคำสั่ง
    quit
  7. จากนั้นรีสตาร์ทเครื่องก็จะเห็นเมนู GRUB ขึ้นมาก็สามารถใช้งานได้ตามปกติ (อย่าลืมเอาแผ่น Live-CD ออกก่อนนะ)
เท่านี้เราก็ไม่ต้องลง Linux ใหม่แล้ว ปล่อยให้ Windows ฟอร์แมตไปตามสบาย เอิ๊กๆ
edit : เมื่อวานลอง setup (hd0,1) แบบเดิมปรากฎว่าใช้ไม่ได้อาจจะเป็นเพราะเคยทำมาแล้ว เลยลองใช้ setup (hd0) ปรากฎว่าได้แฮะ ถ้าใครแล้วไม่ได้ก็ลองเปลี่ยนมาเป็นอันนี้แล้วกันนะ

30 tip windows7

1. ในขณะที่คุณกำลังจะ Restart เครื่องใหม่ ก่อนที่จะกดปุ่ม OK ให้คุณกด Shift ค้างไว้ จะทำให้คุณ Restart ได้เร็วขึ้น 
2. ในบาง Web Site หากคุณกด Ctrl ค้างไว้ และเลื่อน Scroll ที่ Mouse จะทำให้ตัวอักษรของ Web Site นั้นใหญ่ขึ้น 
3. หากกดปุ่ม Refresh หรือ F5 แล้วยังเป็นข้อมูลเดิม ลองกด Ctrl + F5 รับรองจะได้ข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดแน่ๆ 
4. คุณสามารถเปิดไฟล์ Tips.txt ขึ้นมาเพื่ออ่านเทคนิคต่างๆ ได้ ซึ่งไฟล์นี้จะอยู่ใน c:\\windows ของคุณ 
5. ในระหว่างที่คุณกำหลังใช้งาน IE อยู่นั้น สามารถกดปุ่ม F4 เพื่อเป็นการเปิดดู URL List ในช่อง Address ได้เลย 
6. การกดปุ่ม Esc ระหว่างการใช้ IE จะทำให้ IE ของคุณนั้นหยุดโหลดได้ โดยที่ไม่ต้องกดปุ่ม Stop 
7. ระหว่างการใช้ IE สามารถกดปุ่ม Alt + D หรือ Ctrl + Tab เพื่อเข้า Address bar อย่างเร็วได้ 
8. คุณสามารถเพิ่มความเร็วให้กับ Internet ได้โดยทำการถอดสายเครื่องโทรศัพท์ ที่มีการต่อพ่วงอยู่ออก 
9. คุณสามารถ ไปที่ Start -> Run และพิมพ์ว่า welcome กด Enter เพื่อเปิดหน้าต่างต้อนรับของ Windows ได้ 
10. ที่ Notepad หรือ ICQ หากคุณลืมเปลี่ยน Mode ภาษา ให้กดปุ่ม Ctrl + Back Space เพื่อแก้คำที่พิมพ์ผิดไปแล้ว 
11. คุณสามารถ เปิด Folder Desktop อย่างรวดเร็ว โดย Start -> Run พิมพ์จุด (.) ลงไปแล้วกด Enter 
12. ใน IE สามารถกด Space Bar เพื่อนเลื่อนหน้า Page ลงได้ ส่วนเลื่อนขึ้นคือ Shift + Space Bar 
13. ใน Windows คุณไม่สามารถ สร้าง Folder ที่ชื่อ \"con\" ได้ 
14. ใน IE ที่ช่อง Address ปุ่ม Ctrl+Enter สามารถช่วยคุณ ในการพิมพ์ URL ได้เร็วยิ่งขึ้น 
15. การกด Ctrl ค้างเอาไว้ ตอนเวลา BOOT เครื่อง จะทำให้คุณไม่พลาด Startup Menu 
16. คุณสามารถปิดนาฬิกาที่ Taskbar ได้ โดยคลิกขวาที่ Task bar > Properties > เอาเครื่องหมาย Show Click ออก 
17. หากคุณกด F11 ใน Windows Explorer จะช่วยให้มีการทำงานที่สะดวกขึ้น 
18. ใน ICQ การส่ง Message หากคุณกด Ctrl+Enter จะสะดวก กว่าการ Click Mouse ที่ปุ่ม send 
19. คุณสามารถกด F2 เพื่อ ใช้ในการเปลี่ยนชื่อ Icon ต่างๆ ได้ 
20. การกด F5 ใน NotePad จะเป็นการแทรก เวลา และวันที่ ปัจจุบัน 
21. การกด Windows + E จะเป็นเปิด Windows Explorer ขึ้นมา
 22. เปิด System Properties อย่างรวดเร็วคือการกด Window + Pause Break 
23. การย่อยทุกๆ หน้าต่างที่เปิดใช้งาน ให้ยุบไปให้หมด คือการกด Window + D ถ้าจะขยายคืนมาอีก ให้กดซ้ำ 
24. การเคาะวรรคในโปรแกรม Dreamweaver คือ Shift + Ctrl + Space Bar ส่วนการเว้นบรรทัดคือ Shift + Enter 
25. การลบไฟล์แบบ ไม่เก็บไว้ใน Recycle Bin คือการกด Shift + Delete 
26. การกด Shift ค้างไว้ เวลาใส่แผ่น CD-Rom จะเป็นการไม่ให้มันเปิด Autorun ของแผ่น CD-Rom นั้นขึ้นมา 
27. การ Restart เครื่องอย่างเร็ว คือไปที่ Start -> Shut Down... -> Restart จากนั้น ก่อนที่จะ OK ให้กด Shift ค้างเอาไว้ 
28. ในระหว่างใช้ Browser คุณสามารถกดปุ่ม Space Bar เพื่อเลื่อนหน้าลง และ Shift + Space Bar เพื่อนเลื่อนหน้าขึ้นได้ 29. กด Shift + คลิก จะเป็นการเปิดหน้าต่างขึ้นมาใหม่ โดยไม่ต้อง back กลับ 
30. คุณสามารถ ไปที่ Start -> Run และพิมพ์ว่า hwinfo /ui กด Enter เพื่อดูรายงานต่างๆ ของ HardWare

Core2Duo/i3/i5/i7 เลือกใช้รุ่นไหนดี มีคำแนะนำ

Core2Duo/i3/i5/i7 เลือกใช้รุ่นไหนดี มีคำแนะนำ

- ถ้าจะเอาเร็วอย่างเดียวแบบไม่คิดอะไรก็ i7 ครับ หัวดีสุดๆ ประมวลผลเร็วมาก

- ทุนน้อยหน่อย ก็เล่น i5 เอารุ่น 4 หัวแท้อย่าง Core i5 750 ตอนนี้ในตลาดเริ่มหมดแล้ว รุ่นไหม่จะเป็น i5-2300 i5-2400  ฯลฯ เมนบอร์ดแพงขึ้น(มาก)

- แต่ถ้าจะเอาความคุ้มค่า เลือก Core 2 Duo 7XXX ทุกตัว ประหยัดพลังงาน

- เน้นงานหนัก ใช้โปรแกรมใหญ่ๆ เช่น แปลงไฟล์หนัง ตัดต่อ ดาวน์โหลด
 แต่ ชิวๆ สบายๆ ( กระเป๋า ) ขึ้นมาหน่อยก็เล่น Core 2 Quad ( บอร์ดถูก )

- เน้นเกมส์ แต่ทุนไม่มาก ทางเลือกที่ดีที่สุดก็เป็น AMD Phenom ครับ
 ( รุ่นที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ Intel ราคาจะถูกกว่า ครึ่ง ต่อ ครึ่ง ) ใช้ร่วมกับการ์ดจอ ATI     ประมวลผลสุดยอด ไม่ต้องกลัวร้อนอีกต่อไป เพราะปัจจุบัน Intel ได้นำเทคโนโลยีที่คล้ายๆ AMD ไปใช้ ถ้าเรื่องร้อนแรง ตอนนี้ไม่ต่างกัน

วิธีสร้าง New Folder ใน Windows7

วิธีสร้าง New Folder ใน Windows7
ปกติการจะสร้างโฟลเดอร์ใหม่สักโฟลเดอร์หนึ่ง ก็เอา mouse คลิกขวาเลือก New > Folderแต่ใน
Windows 7 ให ้สร้างได้โดย Keyboard Shortcut Key เพียงแค่กดคีย์ Ctrl + Shift + N เท่านั้น คุณก็จะได้โฟลเดอร์ใหม่แล้ว เพื่อนๆลองทำดู

การปรับแต่งให้ Windows 7 ทำงานได้เร็วขึ้น

การปรับแต่งให้ Windows 7 ทำงานได้เร็วขึ้น
โดยการปรับแต่ง Prefetch file ก็เป็นวิธีหนึ่ง Prefetch คือการบันทึกการทำงานของโปรแกรมเก็บไว้สำหรับการใช้งานครั้งต่อไปให้เร็วขึ้น บางครั้งยังไม่พอเพียงที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานเร็วขึ้น ยังมีวิธีเพิ่มประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีอื่นอีกมากมาย หนึ่งในวิธีการเหล่านั้นได้แก่การ Optimize (เพิ่มประสิทธิภาพ) Cache ให้กับไฟล์ระบบ (File System)
เมื่อเราเปิดโปรแกรมหนึ่งขึ้นมาใช้งาน Windows จะอ่านไฟล์ในโปรแกรมแล้วเรียกมาเก็บไว้ใหน่วยความจำหรือ RAM จากนั้นให้เราลองปิดโปรแกรมลงไปแล้วเปิดขึ้นมาใหม่ การเปิดครั้งที่สองจะเร็วกว่าการเปิดครั้งแรกเพราะใน Windows มีระบบ Cache File กล่าวคือการเปิดไฟล์ครั้งที่สอง Windows  จะไปอ่านข้อมูลจาก Cache File ซึ่งถูกดูดมาเก็บไว้ตั้งแต่การเปิดโปรแกรมครั้งแรก
ปัญหาที่เกิด คือถ้าเปิดโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมขึ้นมาใช้งานพร้อมกันแล้ว โปรแกรมหลังๆ จะอืดอาดโดยเห็นได้อย่างชัดเจน จนบางครั้งถึงขั้น System Frozen หรือระบบค้างหยุดทำงาน เพราะข้อมูลถูกดูดเข้าไปจนเต็มความจุของ RAM
วิธีมาปรับแต่งโดยการ Optimize (เพิ่มประสิทธิภาพ) Cache ก็มีดังนี้…
วิธีที่ 1
1.พิมพ์ cmd ลงในช่อง Search ของ Start Menu แล้วกดคีย์ Ctrl + Shift + Enter เพื่อเปิด Command Prompt ด้วยสิทธิ์ของ Administrator
2.ที่หน้าต่าง Command Prompt ให้พิมพ์ fsutil behavior set memoryusage 2 แล้ว Enter

วิธีที่ 2
1.พิมพ์ regedit ลงในช่อง Search ของ Start Menu แล้วกดคีย์ Enter
2.ที่หน้าต่าง Registry Editor ที่หน้าต่างด้านซ้ายให้ไปตามคีย์ย่อยดังนี้
HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSTEM\CurrentControlSet\Control\FileSystem
3.ให้ดับเบิลคลิกที่คีย์ NtfsMemoryUsage ที่หน้าต่างด้านขวา จะที่หน้าต่าง Edit DWORD (32-bit) Valve ให้ใส่เลข 2 ลงในช่อง Value data: แล้วคลิก OK

มีความรู้เกี่ยวกับทิปWindows7 อีกมากมายที่นี่เลย www.comfreestudy.com

วิธีซ่อนไดร์ Card Reader ที่ไม่ได้ใช้(ต้องการเฉพาะไดร์ที่เสียบการ์ด)


ไปที่- Start > Computer    คลิ้กที่ Organize > Folder and search options

    หรือพิมพ์คำว่าFolder options ที่ Start search

- ที่หน้าต่างFolder Options คลิ้กที่  View !  
- ติ้กเครื่องหมายออกที่ empty drives in the Computer folder   
  กด Apply
- ถ้าต้องการกลับมาเหมือนเดิมก็ไปติ้กคืน

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หมวดหมู่ของบทความ

หมวดช่างเทคนิค
- Adhoc     สร้าง homegroup ด้วย wireless
- Wireless Lan
- Set Wireless Adhoc for Windows7
- Write CD
- Wireless Lan (Antenna) สายอากาศ
- เรียนเกี่ยวกับคำสั่ง Dos
- Boot  ด้วย  Flashdrive
- Grub คืออะไร
- Multi Hiren's Boot
- Wireless in Notebook
- Driver Notebook
- Nero คืออะไร
- WinRAR
- CPU Z คืออะไร


หมวดกราฟฟิค
- Photoshop  (ยังไม่เปิดให้บริการ)
- Illustrator    (ยังไม่เปิดให้บริการ)
- Indesign     (ยังไม่เปิดให้บริการ)
- Flash     (ยังไม่เปิดให้บริการ)


หมวดคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- MS Word     (ยังไม่เปิดให้บริการ)
- MS Excel     (ยังไม่เปิดให้บริการ)
- MS Power Point     (ยังไม่เปิดให้บริการ)
- Open Office     (ยังไม่เปิดให้บริการ)