หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตาราง CPU


ซีพียูเดสก์ท้อป
ด้านล่างนั้นท่านผู้อ่านจะเห็นตารางของซีพียู Core i7 ในแต่ละรุ่นทั้งหมดเท่าที่มีการออกวางจำหน่ายในตอนนี้ครับ ซึ่งก็อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วว่า ตัวเป็นที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1366 (โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 9) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Tripple Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1066MHz ในขณะที่ตัวที่เป็น LGA1156 (โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1333MHz นอกจากนั้นยังมีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาไว้ให้ภายในตัวซีพียู จึงส่งผลให้เมื่อทำการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ด 1 ใบจะได้ความเร็ว x16 และ x8/x8 ที่กราฟฟิกการ์ด 2 ใบครับ สำหรับการติดต่อสื่อสารกับระบบในส่วนอื่นๆ นั้นซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1366 นั้นจะใช้บัส QPI ทำงานที่ความเร็ว 2.4 GHz (4.8 GB/s) และสำหรับตัวโมเดลที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 นั้นจะใช้บัส DMI (2GB/s)
สำหรับเทคโนโลยี Turbo Boost นั้นก็คือการโอเวอร์คล็อกแกนซีพียูที่กำลังได้รับการใช้งานโดยอัตโนมัติ ตัวเลขที่เห็นในตารางด้านล่างนั้นคือความเร็วสูงสุดที่ระบบสามารถทำการโอ เวอร์คล็อกไปได้
ModelInternal ClockTurbo BoostTech.TDP (W)Max Temp (C)Voltage (V)Socket
9603.2GHz3.46GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
9503.06GHz3.32GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
9402.93GHz3.2GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
9202.66GHz2.93GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
8702.93GHz3.6GHz45nm9572.70.64 - 1.41156
860s2.53GHz3.46GHz45nm8276.70.65 - 1.41156
8602.8GHz3.4GHz45nm9572.70.65 - 1.41156
ในขณะที่ตารางด้านล่างนั้นท่านผู้อ่านจะเห็น Core i7 Extreme สำหรับเดสก์ท้อปทั้งหมดที่ออกมาในตอนนี้ โมเดลเหล่านี้จะมี QPI ที่ทำงานเร็วกว่า (3.2GHz, 6.4GB/s) และได้รับการปลดล็อกตัวคูณมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ModelInternal ClockTurbo BoostTech.TDP (W)Max Temp (C)Voltage (V)Socket
980X3.33GHz3.6GHz32nm13067.90.8 - 1.3751366
9753.33GHz3.6GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
9653.2GHz3.46GHz45nm13067.90.8 - 1.3751366
TDP ย่อมาจาก Thermal Design Power ซึ่งก็คือปริมาณความร้อนสูงสุดที่ซีพียูจะปล่อยออกมาในขณะทำงานนั่นเอง โดยระบบระบายความร้อนของซีพียูนั้นจะต้องสามารถระบายความร้อนได้ทั้งหมด อย่างน้อยเท่ากับตัวเลข TDP ของซีพียูนั้นๆ
ซีพียูโน้ตบุ๊ก
Core i7 ที่ใช้บนโน้ตบุ๊กนั้นจะใช้บนซ็อกเก็ต PGA988 ซึ่งมีคุณสมบัติหลักๆ เหมือนกับ Core i7 ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA1156 (Core i7-8xx) แทบจะทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel (สัญญาณนาฬิกาสูงสุดที่สามารถรองรับได้จะชึ้นอยู่กับตัวซีพียูเป็นสำคัญ ดูคอลัมน์ memory เพิ่มเติมได้ในตารางด้านล่าง แต่โดยหลักๆ แล้วซีพียูโมเดลใดๆ ที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุด 1333 MHz นั้นจะรองรับแรมที่มี่ความเร็ว 1066MHz ด้วย แต่จะไม่รองรับแรมที่ความเร็ว 800MHz แต่ซีพียูโมเดลที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุด 1066MHz นั้นจะรองรับแรมที่ความเร็ว 800MHz ด้วย) มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 มาให้แล้วในตัวซีพียู และใช้บัส DMI ครับ
โมเดลซีพียูที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 6 นำหน้านั้นจะมีกราฟฟิกการ์ดที่รองรับ DirectX 10 มาให้ด้วยโดยจะมีความเร็วที่ 733MHz และมี Shader Processor มาให้ 12 ตัว
ModelInternal ClockTurbo BoostTech.CoresL3 CacheMemoryTDP (W)
i7-820QM1.73GHz3.06GHz45nm48MB1333MHz45
i7-720QM1.6GHz3.28GHz45nm46MB1333MHz45
i7-640UM1.2GHz2.26GHz32nm24MB800MHz18
i7-640LM2.13GHz2.93GHz32nm24MB1066MHz25
i7-620UM1.06GHz2.13GHz32nm24MB800MHz18
i7-620M2.66GHz3.33GHz32nm24MB1066MHz35
i7-620M2.66GHz3.33GHz32nm24MB1066MHz35
i7-620LM2.0GHz2.8GHz32nm24MB1066MHz25
ตารางด้านล่างนั้นคือ Core i7 Extreme Edition สำหรับโน้ตบุ๊กที่ได้รับการปลดล็อกตัวคูณมาให้เป็นที่เรียบร้อย
ModelInternal ClockTurbo BoostL3 CacheMemoryTDP (W)Max Temp.
920XM2.0GHz3.2GHz8MB1333MHz55100


ผลิตภัณฑ์ CPU รุ่นใหม่ของ Intel ซึ่งตอนนี้ได้ทำการประชาสัมพันธ์ CPU รุ่นใหม่นี้เป็นอย่างมาก นั่นก็คือ Core i3, i5 และ i7 ซึ่งหากใครหลายคนสนใจที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งชุดหรืออัพเกรดเฉพาะส่วน (ซีพียู,เมนบอร์ด,แรม) ผมไม่อยากให้คุณมองข้าม CPU รุ่นนี้นะครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ ไอ้ซีพียูแต่ละตัวที่ว่านี้ มันเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร? ซื้อมาใช้แล้วจะคุ้มหรือไม่? วันนี้ผมจะมาเล่าให้คุณฟังครับ
หลังจากที่ทาง Intel ได้ทำการเปิดตัว CPU รุ่นใหม่ที่มีเทคโนโลยีการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร เพิ่มมาอีก 2 รุ่นก็คือ i3, i5  (ส่วน i7 นั้นยังไม่มีตัว 32 นาโนเมตรครับ) ซึ่งทางอินเทลได้ปรับปรุงในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้นจากซีพี ยูรุ่นก่อนๆ ให้เพิ่มมากขึ้น และประหยัดไฟมากขึ้นกว่าเดิม แต่ปัญหาสำคัญก็คือ CPU รุ่นนี้จะต้องใช้ Mainboard Socket ใหม่ คือแบบ 1156 (ตัวก่อนหน้านี้ใช้ Socket 775 ) ทำให้คนที่ต้องการจะอัพเกรดคอมพิวเตอร์ของตนนั้น ต้องเผื่อในส่วนของราคาเมนบอร์ดตัวใหม่ด้วยครับ
.
.

บทสรุปความแตกต่างของซีพียูแต่ละตัวคืออะไร?

หลายคนที่กำลังจะตัดสินใจซื้อ คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่อาจจะต้องหยุดคิดพิจารณาสักนิดหนึ่งก่อนนะครับ ตามความคิดเห็นของผมนั้น หากคุณต้องการที่จะซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ในช่วงนี้ ผมอยากให้คุณมองถึง CPU รุ่นนี้ พร้อมทั้ง Mainbord,Ram ที่เข้ากับ CPU รุ่นนี้ได้
คำถามต่อมา คุณอาจจะสงสัยว่า แล้ว i3, i5 และ  i7 นี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผมจึงขอนำตารางที่สแกนมาจากโบชัวร์ของบริษัท Intel มาให้คุณได้ลองดูไปด้วยกันเลยครับ (ถ้าไม่นับถึงความเร็วของซีพียูนะครับ ใครจะทำซีพียูแพงๆ ความเร็วเท่ากับซีพียูราคาที่ต่ำกว่าล่ะครับ)
1. ระบบ Hyper-Threading สิ่ง ที่่ CPU ตระกูลนี้นำกลับเข้ามาใช้ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ระบบ Hyper-Threading (ระบบการจำลองชุดคำสั่งแบบคู่ขนาน) ซึ่ง intel เคยนำมาใช้ตอน Pentium 4 ครับโดย
i7 จะมี 4 คอร์ 8 เธรด
i5 จะมี 4 คอร์ 4 เธรด และ 2 คอร์ 4 เธรด
i3 จะมี 2 คอร์ 4 เธรด
2. Cache L3 ระบบ Cache L3 เป็นระบบที่ทำ AMD นำมาใช้ก่อนในซีพียูรุ่นก่อนแล้ว ซึ่ง intel เพิ่งจะนำเข้ามาใช้กับซีพียูตระกูลนี้ัครับ
i7 จะมี Cache L3   8 MB
i5
 จะมี Cache L3   8 MB และ 4 MB
i3 
จะมี Cache L3   4 MB

8 ความคิดเห็น: